BIOFIN คืออะไร
โครงการความร่วมมือระดับโลกที่เรียกว่า ไบโอฟิน (BIOFIN: The Biodiversity Finance Initiative) ได้ถือ กำเนิดขึ้นเมื่อปี พศ 2555 จากการริเริ่มของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP: United Nations Development Programme) ในคราวการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
(Convention on Biological Diversity: CBD) โดยในช่วงเริ่มต้นมีสมาชิก 12 ประเทศที่นำระบบและ
วิธีการแบบใหม่มาทดลองใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านการเงินและงบประมาณเพื่อการดูแลความหลากหลาย ทางชีวภาพ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ BIOFIN methodology หรือกระบวนการไบโอฟิน ซึ่งปัจจุบันมีประเทศ ที่ร่วมโครงการจำนวนกว่า 30 ประเทศ ได้แก่ เบลิซ บราซิล บอตสวานา ภูฏาน ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกา คิวบา เอกวาดอร์ ฟิจิ จอร์เจีย กัวเตมาลา อินเดีย อินโดนีเซีย คาซักสถาน คีร์กีซสถาน มาเลเซีย เม็กซิโก มองโกเลีย โมซัมบิก นามิเบีย เปรู ฟิลิปปินส์ รวันดา เซเชลล์ แอฟริกาใต้ ศรีลังกา ไทย ยูกันดา เวียดนาม และแซมเบีย โดยประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการนี้ผ่านการเห็นชอบของรัฐบาลไทย นำโดยสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2557
วัตถุประสงค์หลักของโครงการ BIOFIN คือ การสนับสนุนทางด้านวิชาการของโครงการพัฒนาแห่ง
สหประชาชาติ โดยนำกรอบความคิดและกระบวนการ BIOFIN methodology เป็นองค์ความรู้หลักในการ บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ในฐานที่กว้างขึ้นผ่านความ ร่วมมือระหว่างประเทศ และระหว่างภูมิภาคในการระดมทรัพยากรเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทาง ชีวภาพ ดังนั้น โครงการการริเริ่มการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ BIOFIN จึงมุ่งหวังให้
ประเทศสมาชิกสามารถเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการการเงิน บุคคลากร และทรัพยากรด้านอื่นๆ เพื่อดูแล รักษาความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคุณลักษณะสำคัญของ BIOFIN methodology คือ การพัฒนาแผนการระดมทุนเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟู ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดลำดับ
ความสำคัญของโครงการที่ควรได้รับการดูแลอย่างถูกที่ถูกเวลา ซึ่งเงินทุนควรจะมาจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบดั้งเดิมและเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อหา แนวทางผสมผสานทางการลงทุนเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพที่เหมาะสมของ แต่ละประเทศ เพื่อ สร้างผลลัพท์ทางการเงิน 4 ประการ คือ (1) สร้างรายได้จากการบริหารจัดการความหลากหลายทาง ชีวภาพ (Generate revenue) (2) วางกรอบงบประมาณที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพอย่าง เหมาะสม (Realign current expenditure) (3) หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ฟื้นฟูทรัพยากรความ หลากหลายทางชีวภาพ (Avoid the need for future biodiversity expenditures) และ (4) เกิด การลงทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น (Deliver financial resources more effectively and efficiently)